จัดกระดูก ไทยไคโรคลินิก Tel. ☎️ 094-952-2416

เลือกภาษาของคุณ

chiro history
ประวัติความเป็นมาของศาสตร์ไคโรแพรคติก

ไคโรแพรคติกนั้นเป็นศาสตร์แพทย์ทางเลือก ที่มีต้นกำเนิดในปี ค.ศ 1895 ณ รัฐ ไอโอว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนาย แดเนียล เดวิด ปาล์มเมอร์ ซึ่งเป็นแพทย์ทางเลือกในขณะนั้น ได้นำความรู้ทางด้าน กายวิภาค, สรีรวิทยา, พยาธิวิทยา และวิทยาศาสตร์ มาประยุกต์ร่วมกับศาสตร์การแพทย์ทางเลือกในขณะนั้น กลายเป็น ศาสตร์แพทย์ทางเลือกไคโรแพรคติก โดยคำว่า Chiropractic นั้น มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก โดยผนวกคำว่า Cheir และ Praktikas แปลตรงตัวได้ว่า “การกระทำด้วยมือ” ซึ่งผู้ที่ให้การบำบัดรักษาโดยใช้ศาสตร์ไคโรแพรคติกนั้น จะถูกเรียกว่า ไคโรแพรคเตอร์ หรือ Doctor of Chiropractor นั่นเอง ในปัจจุบันนั้นศาสตร์ไคโรแพรคติก ได้กลายเป็นหนึ่งในศาสตร์แพทย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกาและในทวีปยุโรป รวมถึงได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เป็นศาสตร์แพทย์ทางเลือกที่เป็นระบบ มีความปลอดภัย มีบรรทัดฐานสากล รวมไปถึงมีการรับรองหลักสูตรการเรียนการสอนที่เป็นมาตรฐานอีกด้วย

ก่อนการเข้ารับการจัดกระดูกด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติก

ไคโรแพรคเตอร์จะเริ่มการซักประวัติ ตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้น โดยให้ความสำคัญกับความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ในเรื่อง ตำแหน่งโครงสร้าง (Alignment), การเคลื่อนไหว (Functional) แพทย์ไคโรแพรคติก (Chiropractor) จะประเมินอาการและวิธีการรักษาในเบื้องต้นจากข้อมูลการเจ็บป่วย ภาพถ่ายภายในร่างกาย การตรวจร่างกาย และผลการตรวจอื่นๆ โดยวิธีตรวจอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุและลักษณะอาการของผู้ป่วยแต่ละคน เมื่อได้รับผลการตรวจแล้ว แพทย์ไคโรคแพรคติกจะพูดคุยและแนะนำผู้ป่วยถึงสาเหตุที่พบ รูปแบบการรักษา ผลลัพธ์ ความเสี่ยงจากการรักษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและข้อมูลในการตัดสินใจมากขึ้น

ความผิดปกติที่เกิดกับข้อต่อกระดูกสันหลัง ระบบประสาทที่อยู่ ณ ระดับต่างๆ นั้นๆ จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ จะส่งผลให้เกิดการซ่อมแซมที่บกพร่องของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ซึ่งเป็นที่มาของอาการปวดเรื้อรัง เป็นๆหายๆ เป็นต้น เมื่อพบความผิดปกติของข้อต่อกระดูกสันหลัง ไคโรแพรคเตอร์ตรวจพบจะใช้มือ กดหรือดัด ไปที่ข้อต่อกระดูกสันหลังนั้นๆ เพื่อปรับสมดุลของโครงสร้างกระดูกสันหลัง และส่งผลไปยังระบบประสาทที่อยู่ในระดับข้อกระดูกสันหลังนั้นๆ ให้กลับมาทำงานเป็นปกติ

การปรับข้อต่อกระตูกอาจจะเกิดเสียงดังขึ้นในข้อ ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจว่านี่คือการจัดกระดูกให้เข้าที่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไคโรแพรคเตอร์ ต้องการปรับข้อต่อให้เกิดความสมดุลและทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ของระบบประสาท ทำให้ให้อาการปวดลดลง เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อในเวลาต่อมา ซึ่งจะต่างจากการนวดคลายกล้ามเนื้อ หรือการใช้เครื่องเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ที่จะมุ่งตรงไปในการคลายกล้ามเนื้อ ที่ได้รับบาดเจ็บ

รู้จักไคโรแพรคติก แพทย์ทางเลือกเพื่อบำบัดอาการปวด

ไคโรแพรคติก (Chiropractic) เป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่งที่ช่วยปรับลักษณะกระดูกภายในร่างกายให้อยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม จึงมักนำไปใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อ คนไทยอาจรู้จักศาสตร์การรักษานี้ในชื่อ การจัดกระดูก ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมทั้งอาการปวดจากโรคข้ออักเสบ อย่างไรก็ตาม แพทย์ทางเลือกแขนงนี้ก็มีข้อจำกัดและความเสี่ยงเช่นเดียวกับแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ จึงควรศึกษาข้อมูลก่อนรับการรักษา

ไคโรแพรคติก บำบัดอาการเจ็บป่วยใดได้บ้าง ?

หลักของการรักษาด้วยไคโรแพรคติกคือการจัดเรียงกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองจากการเจ็บป่วย โดยจากการศึกษาจำนวนหนึ่งพบว่าการจัดกระดูกอาจส่งผลดีต่อการรักษาไมเกรน โรคปวดคอร่วมกับปวดศีรษะ อาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง อาการปวดคอ และคอเคล็ด นอกจากนี้ อาการอื่น ๆ ที่อาจรักษาได้ด้วยแพทย์ทางเลือกแขนงนี้ ได้แก่...

✅ อาการชาตามแขน-ขา
✅ อาการปวดศีรษะ
✅ แขน-ขาอ่อนแรง
✅ ปวดศีรษะไมเกรน
✅ มีปัญหาการย่อยอาหาร
✅ อาการปวดคอ
✅ ปัญหาและอาการปวดในสตรี เช่น ปวดท้องเวลามีรอบเดือน
✅ ปวดไหล่ ปวดแขน
✅ ปัญหาสุขภาพในเด็ก

 

✅ อาการปวดหลัง
✅ ปัญหาการนอนไม่หลับ
✅ ปวดสะโพก ปวดขา
✅ อาการอ่อนล้า
✅ อาการปวดเข่า
✅ มีความวิตกกังวล
✅ อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
✅ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
✅ มีอาการปวดหลังหรือปวดส่วนอื่นขณะตั้งครรภ์

 

 

วิธีการรักษาด้วยไคโรแพรคติกเป็นอย่างไร ?

การรักษาไคโรแพรคติก คือ การใช้มือและข้อศอกออกแรงกด ดัด ดึง บริเวณกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อตามร่างกายผ่านท่าทางต่างๆ โดยการรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้มักไม่ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ แต่บางคนอาจรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย หากรู้สึกเจ็บหรือมีอาการอื่นระหว่างการรักษาควรแจ้งแพทย์ทันที นอกจากนี้ แพทย์จัดกระดูกอาจให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย ดูแลเรื่องน้ำหนักตัว โภชนาการ และปรับเปลี่ยนท่าทาง รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อรักษาอาการด้วยตนเองร่วมด้วย
 

ข้อจำกัดในการรักษาด้วยไคโรแพรคติก

การรักษาด้วยการจัดกระดูกเหมาะสำหรับการรักษาอาการปวดแบบฉับพลันและระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ และบุคคลบางกลุ่มไม่ควรเข้ารับการจัดกระดูกเพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บและเป็นอันตรายได้ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะชนิดรุนแรง โรคกระดูกทับเส้น โรคมะเร็งกระดูกสันหลัง ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกลำคอส่วนบน ผู้ที่มีอาการแขนชาขาชา หรือมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง

หลังจากเข้ารับการจัดกระดูก บางคนอาจมีเหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดหัวศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้มักหายได้เอง แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจพบผลข้างเคียงอันตราย อย่างกระดูกทับเส้น เส้นประสาทไขสันหลังถูกกดทับ เส้นเลือดในสมองอุดตัน ตีบ หรือแตก อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้พบได้น้อยมาก แต่เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกบริการการจัดกระดูกจากคลินิกที่เชื่อถือได้และมีใบรับรอง

สุดท้ายนี้ ผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษาด้วยไคโรแพรคติก ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันถึงความจำเป็น ความเหมาะสม และความปลอดภัยในการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก โดยก่อนเข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะจากแพทย์สมัยใหม่หรือแพทย์ทางเลือก ควรแจ้งโรคประจำตัว ยาที่กำลังใช้ ประวัติการบาดเจ็บและการผ่าตัดทุกครั้ง
แต่อย่างไรก็ตามการจัดกระดูกนั้นก็มีข้อจำกัด ข้อห้ามหรือข้อควรระวัง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ทำให้เกิดภาวะ กระดูกพรุน, กระดูกบาง โรคมะเร็ง, โรคข้ออักเสบกลุ่มรูมาตอยด์, โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดยึดติด, ภาวะเส้นประสาทไขสันหลังถูกกดทับขั้นรุนแรง, ภาวะข้อต่อหลวม, ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว, และ ภาวะหลอดเลือดโป่งพอง เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ทราบหรือไม่มั่นใจว่าตนเองมีโรคประจำตัวเหล่านี้หรือไม่ ควรจะปรึกษาและเข้ารับการตรวจประเมินจากแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะที่เป็นข้อห้าม หรือข้อควรระวังในการจัดกระดูก เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการเข้ารับการรักษาโดยศาสตร์ไคโรแพรคติก

เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยควรได้รับการปรับสมดุลของกระดูกสันหลังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยผู้ป่วยควรได้รับการปรับข้อต่ออาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงระยะแรกของการรักษา เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ความถี่ของการรักษาจะห่างขึ้นตามการตอบสนองที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยแต่ละครั้งจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 15-30 นาที โดยประมาณ